เมนู

ส่วนในสูตรนี้ และในปาฐะแห่งสุตตันตปิฎก ซึ่งมีกำเนิดอย่างนี้อื่น ๆ
สมยศัพท์มีอรรถว่า อัจจันตสังโยค คือทุติยาวิภัตติ ที่แปลว่าตลอด. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้หรือสูตรอื่น ตลอดสมัยใด ก็ประทับอยู่ด้วย
พระกรุณาวิหารตลอดไปคือตลอดสมัยนั้น เพราะฉะนั้น สมย ศัพท์จึงควร
ทราบว่า ท่านทำนิเทศเป็นทุติยาวิภัตติไว้ในสูตรนี้ ก็เพื่อส่องความนั้น. ใน
ข้อนี้ มีคำกล่าวว่า
ตํ ตํ อตฺถมเปกิขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ
อญฺญตฺร สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ.
ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก
อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ในสุต-
ตันตปิฎกนี้ สมยศัพท์นั้น ท่านกล่าวด้วยทุติยาวิภัตติ.


แก้อรรถบท ภควา


คำว่า ภควา นี้เป็นคำเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้วิเศษโดยพระ-
คุณเป็นยอดของสัตว์ เป็นครูและควรเคารพเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ภควาติ วจน์ เสฏฺฐํ ภควาติ จนนมุตตมํ
ครุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็น
คำสูงสุด พระองค์ทรงเป็นครู และควรแก่ความเคารพ
ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา.

ความจริง นามคือชื่อมี 4 คือ อาวัตถิกะ ชื่อตามรุ่น ลิงคิกะชื่อตามเพศ
เนมิตตกะ. ชื่อตามคุณ อธิจจสมุปันนะ ชื่อตั้งลอย ๆ. ชื่อว่าอธิจจสมุปปันนนาม
ท่านอธิบายว่า เป็นนามที่ตั้งตามความพอใจ. ในนามทั้ง 4 นั้น นามเป็นต้น

อย่างนี้ว่า โคลูก โคฝึก โคงาน ชื่อว่า อาวัตถิกนาม. นามเป็นต้นอย่างนี้ว่า
คนมีไม้เท้า [คนแก่] คนมีฉัตร [พระราชา] สัตว์มีหงอน [นกยูง] สัตว์มี
งวง [ช้าง] ชื่อว่าลิงคิกนาม. นามเป็นต้นอย่างนี้ว่า ผู้มีวิชชา 3 ผู้มีอภิญญา
6 ชื่อว่า เนมิคิกนาม. นามเป็นต้นอย่างนี้ว่า ผู้เจริญด้วยสิริ ผู้เจริญด้วย
ทรัพย์ ซึ่งเป็นไปไม่เพ่งความของคำ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม. ส่วนนาม
ว่าภควานี้ เป็นเนมิตตกนามโดยพระคุณ ไม่ใช่พระนางเจ้ามหามายา พุทธ-
มารดาตั้ง ไม่ใช่พระเจ้าสุทโธนมหาราช พุทธบิดาตั้ง ไม่ใช่พระประยูรญาติ
84,000 พระองค์ตั้ง ไม่ใช่เทวดาพิเศษมีท้าวสักกะ ท้าวสันดุสิตเป็นต้นตั้ง
เหมือนอย่างที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า พระนามว่า ภควา นี้พระพุทธมารดา
มิได้ตั้ง ฯลฯ. พระนามคือภควา เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพื่อประกาศพระคุณ
ทั้งหลาย ที่เป็นคุณเนมิตตกนาม พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ภคี ภชี ภาคี วิภตฺตวา อิติ
อกาสิ ภคฺคนฺติ ครูติ ภาคฺยวา
พหูหิ ญาเยหิ สุภาวิตตฺตโน
ภวนฺตโค โส ภควาติ วุจฺจติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระนามว่า ภควา
เพราะทรงเป็นผู้มีภคะคือโชค เพราะทรงเป็นผู้เสพ
[ที่สงัด] เพราะทรงมีภาค [ส่วนที่ควรได้รับจตุปัจจัย
หรือมีส่วนแห่งธรรม] เพราะทรงเป็นผู้จำแนกธรรม
เพราะได้ทรงทำการหักบาปธรรม เพราะทรงเป็นครู
เพราะทรงมีภาคยะคือบุญ เพราะทรงอบรมพระองค์ดี
แล้วด้วยญายธรรมเป็นอันมาก เพราะเป็นผู้ถึงที่สุดภพ.

ก็ความแห่งพระคุณบทว่า ภควา นั้น พึงเห็นตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ในนิเทศเป็นต้นนั่นแล.
อนึ่ง ปริยายอื่นอีก มีดังนี้
ภาคฺยวา ภคฺควา ยุตโต ภเคหิ จ วิภตฺตวา
ภตฺตวา วนฺตคมโน ภเวสุ ภควา ตโต.
พระองค์ทรงมีบุญ ทรงหักกิเลส ทรงประกอบ
ด้วยภคธรรม ทรงจำแนกธรรม ทรงเสพธรรม ทรง
คายกิเลสเป็นเหตุไปในภพทั้งหลายได้แล้ว เพราะ
ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือลักษณะแห่งนิรุตติศาสตร์อย่าง
นี้ว่า ลงอักษรใหม่ ย้ายอักษร เป็นต้น หรือถือลักษณะการรวมเข้าในขุด
ศัพท์มี ปิโสทรศัพท์ เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพทศาสตร์ เมื่อน่าจะเรียกว่า
พระภาคยวา เพราะพระองค์มีภาคยะคือบุญบารมีมีทานและศีลเป็นต้น อย่าง
เยี่ยม อันให้เกิดความสุขทั้งโลกิยะและโลกุตระ แต่ก็เรียกเสียว่า ภควา.
อนึ่ง เพราะเหตุที่พระองค์ทรงหักรานกิเลส อันทำความกระวน
กระวายเร่าร้อนนับแสนประเภท คือประเภทโลภะ โทสะ โมหะ ประเภทวิปริต.
มนสิการ ประเภทอหิริกะ อโนตตัปปะ ประเภทโกธะ อุปนาหะ ประเภทมักขะ
ปลาสะ ประเภทอิสสา มัจฉริยะ ประเภทมายาสาเถยยะ ประเภทถัมภะ สารัมภะ
ประเภทมานะ อตินานะ ประเภทมทะ ปมาทะ ประเภท ตัณหา อวิชชา.
ประเภท อกุศลมูล 3 ทุจจริต 3 สังกิเลส 3 มละ 3 วิสมะ 3 สัญญา 3
วิตก 3 ปปัญจธรรม 3. ประเภทวิปริเยสะ 4 อาสวะ 4 คันถะ 4 โอฆะ 4 โยคะ
4 อคติ 4 ตัณหุปปาทะ4. ประเภทเจโตขีละ 5 วินิพันธ่ 5 นีวรณะ 5

อภินันทนะ 5 ประเภทวิวาทมูล 6 ตัณหากายะ 6 ประเภทอนุสัย 7 ประเภท
มิจฉัตตะ 8 ประเภทตัณหามูลกะ 9 ประเภทอกุศลกรรมบถ 10 ประเภท
ทิฏฐิคตะ 62 ประเภทตัณหาวิจริต 108 หรือว่าโดยสังเขป คือมาร 5 คือ
กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร ฉะนั้น เมื่อ
น่าจะเรียกว่า ภัคควา ก็เรียกเสียว่า ภควา เพราะทรงหักรานอันตรายเหล่านั้น
เสียได้ ในข้อนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า
ภคฺคราโค ภคฺคโทโส ภคฺคโมโห อนาสโว
ภคฺคาสฺส ปาปกา ธมฺมา ภควา เตน วุจฺจติ.
ทรงหักราคะ หักโทสะ หักโมทะ ไม่มีอาสวะ ทรงทัก
บาปธรรมได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าภควา.

ก็แลความถึงพร้อมแห่งพระรูปกายของพระองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญ-
ลักษณะนับร้อย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงมีภาคยะคือบุญ ความถึง
พร้อมแห่งพระธรรมกาย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงหักโทสะได้แล้ว.
ความเป็นผู้ที่ชาวโลกและคนใกล้เคียงนับถือมากก็ดี ความเป็นผู้ที่คฤหัสถ์และ
บรรพชิตทั้งหลายไปมาหาสู่ก็ดี ความเป็นผู้สามารถในอันช่วย จัดทุกข์กายและ
ทุกข์ใจ แก่ผู้ไปมาหาสู่ก็ดี ความเป็นผู้ทำอุปการะเขาด้วยอามิสทานและธรรม
ทานก็ดี ความเป็นผู้สามารถในอันประกอบเขาไว้ด้วยโลกิยสุขและโลกุตตรสุข
ก็ดีเป็นอันท่านแสดงด้วยพระคุณสองอย่างนั้น.
อนึ่ง เพราะเหตุที่ ภค ศัพท์ในโลก เป็นไปในธรรม 6 คือ อิสริยะ
ธรรมะ ยสะ สิริ กามะ ปยัตตะ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมี
อิสริยะความเป็นให้ในจิตของพระองค์เองอย่างเยี่ยม หรือทรงมีอิสริยะ
บริบูรณ์โดยอาการทุกอย่างที่สมมติว่าเป็นโลกิยะ มีอณิมา ทำตัวให้เล็ก
[ย่อส่วน] ลังฆิมาทำตัวให้เบา [เหาะ] ทรงมีโลกุตรธรรมก็เหมือนกัน ทรงมี

ยศบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ที่ทรงได้โดยพระคุณตามเป็นจริง ปรากฏทั่วสามโลก ทรง
มีพระสิริสง่างามทั่วสรรพางค์ บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ทรงสามารถให้เกิด
ขวัญตาขวัญใจแก่ผู้ขวนขวายเข้าชมพระรูปพระโฉมได้ทรงมีพระกามะ อันหมาย
ถึงความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ทรงประสงค์ เพราะประโยชน์ใด ๆ ที่ทรงประ-
สงค์แล้ว ปรารถนาแล้วจะเป็นประโยชน์ นี้ก็ตามประโยชน์ผู้อื่นก็ตามประโยชน์
นั้น ๆ ก็สำเร็จสมพระประสงค์ทั้งนั้น และทรงมีพระปยัตตะ กล่าวคือ สัมมาวา-
ยามะ อันเป็นเหตุเกิดความเป็นครูของโลกทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา
โดยอรรถนี้ว่าทรงมีภคธรรม เพราะความที่ทรงประกอบด้วยภคธรรมเหล่านั้น.

แก้บทวิภตฺตวา


อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น วิภตฺตวา ท่านอธิบาย
ว่า ทรงจำแนก เปิดเผย แสดง ซึ่งธรรมทั้งปวงโดยประเภทมีประเภทกุศล
เป็นต้น หรือซึ่งธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ
สัจจะ อินทรีย์และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งทุกขอริยสัจ โดยอรรถคือ
ปีฬนะบีบคัน สังขตะอันปัจจัยปรุงแต่ง สันตาปะแผดเผา วิปริณามะแปรปรวน
หรือซึ่งสมุทัยอริยสัจ โดยอรรถคือ อายูหนะ ประมวลทุกข์มา นิทานะเหตุ
แห่งทุกข์ สังโยคะผูกไว้กับทุกข์ ปลิโพธะหน่วงไว้มิให้ถึงมรรค ซึ่งนิโรธ-
อริยสัจโดยอรรถคือ นิสสรณะออกไปจากทุกข์ วิเวกะสงัดจากทุกข์ อสัง-
ขตะอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง อมตะเป็นสภาพไม่ตาย ซึ่งมรรคอริยสัจโดยอรรถ
คือ นิยยานิกะ นำออกจากทุกข์ เหตุ เหตุแห่งนิโรธ ทัสสนะเห็นพระนิพพาน
อธิปไตย ใหญ่ในการเห็นพระนิพพาน ฉะนั้น เมื่อน่าจะเรียก วิภตฺตวา แต่
ก็เรียกเสียว่า ภควา.